น่ารักนะ

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่8

ความหมายของสถิติ สถิติมีความหมาย 2 อย่างคือ1 หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งแรื่องใดเช่นสถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น2 หมายถึง วิชาที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลป ว่าด้วยการศึกษาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล ( collection of date) การนำเสนอข้อมูล( presentation of date)การวิเคราะข้อมูล (analysis of date) ความหมายข้อมูล (interpretation of data ) ในความหมายที่สอง หมายถึง วิธีการที่เริ่มต้นตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีเพราะต้องเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม ถ้าได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมข้อมูลเหล่านี้ย่อมใช้ไม่ได้ หรือใช้ได้แต่เพียงส่วนน้อยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา จำเป็นจะต้องมีการนำมาจัดใหม่ให้ดูง่ายหรือเป็นระเบียบ การจัดข้อมูลใหม่อาจใช้ตาราง กราฟ หรือรูปภาพขั้นตอนนี้เรียกว่าการนำเสนอข้อมูล ค่าเฉลี่ย ( Mean) หมายถึง ค่าที่ได้จากการนำคะแนนทั้งหมดมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนคะแนนทั้งหมดมัธยฐาน (Median) หมายถึงค่าคะแนนที่อยู่ตรงกลางของข้อมูลแต่ละชุดเมื่อรียงลำดับข้อมูลจากมากไปหาน้อยหรือจากน้อยไปหามากฐานนิยม (Mode) หมายถึงค่าของคะแนนที่มีความถี่สูงสุดของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ ถ้าข้อมูลชุดใดมีค่าความถี่สูงสุดมากกว่า 1 ค่า ข้อมูลชุดนั้นก็มีฐานนิยมมากกว่า 1 ค่า หรือถ้าข้อมูลชุดใดมีค่าความถี่สูงสุดเท่า ๆ กันทุกค่า ข้อมูลนั้นไม่มีฐานนิยมส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standand deviation) หมายถึง รากที่สองของค่าเบี่ยงเบนของข้อมูลแต่ละตัวจากค่าเฉลี่ยยกกำลังสอง เป็นการวัดการกระจายที่บอกว่า ข้อมูลแต่ละตัวกระจายไปจากตำแหน่งมากน้อยเพียงใด ถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่ามากแสดงว่าข้อมูลของแต่ละคนในกลุ่มแตกต่างกันมาก ถ้ามีค่าน้อยแสดงว่า แสดงว่าข้อมูลของแต่ละคนในกลุ่มนั้นใกล้เคียงกัน ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยของข้อมูลทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตของการวิจัยอาจจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ หน่วยของข้อมูลจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่าสนใจจะศึกษาขอบเขตแค่ไหน กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยของข้อมูลบางหน่วยที่ถูกเลือกมาจากประชากรเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด และผู้วิจัยจะศึกษากับกลุ่มที่เป็นตัวแทนนี้แล้วอ้างอิงไปยังประชากรประชากรเป็นหน่วยของข้อมูลทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตของการวิจัย และกลุ่มตัวอย่างเป็นหน่วยข้อมูลบางหน่วยที่ถูกเลือกมาจากประชากร หรือกล่าวว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นส่วนหนึ่งของประชากรนามบัญญัติ เป็นการวัดทีกำหนดชื่อหรือตัวเลขให้แก่สิ่งต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้เป็นการจะแนกกลุ่มหรือประเภทเพียงอย่างเดียว เรียงลำดับที่ เป็นการวัดโดยการจัดอันดับให้แก่สิ่งของของต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้บ่งบอกถึงการจำแนกกลุ่ม และเรียนลำดับความมากน้อยระดับช่วง เป็นการวัดโดยการแบ่งช่วงสิ่งที่ต้องการศึกษาออกป็นช่วง ๆ โดยแต่ละช่วงมีขนาดเท่ากันอัตราส่วน เป็นการวัดโดยการแบ่งช่วงของสิ่งที่ต้องการศึกษาออกเป็นช่วง ๆ เหมือนอันตรภาคชั้นแต่มาตรานี้มีศูนย์แท้ความหมายของตัวแปรตัวแปร (variable) หมายถึง คุณลักษณะที่สามารถแปรเปลี่ยนหรือเปลี่ยนค่าได้ ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 2 ค่า เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชาย ละเพศหญิง ระดับการศึกษา แปรค่าได้หมายค่า เช่น ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี ตัวแปรต้น (Independent variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นต้นเหตุหรือตังแปรที่มาก่อนตัวแปรตาม เช่น ตัวแปรอาชีพกับตัวแปรรายได้ อาชีพย่อมเกิดขึ้นก่อนรายได้ อาชีพจึ้งเป็นตัวแปรต้นตัวแปรตาม (Dependent variable) หมายถึง ตัวแปรที่มาทัหลัง หรือตัวแปรที่เป็นผลตามมาจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต้นสมมุติฐาน (Hypothesis) หมายถึง เป็นการค่ดคะเนความสืพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไปไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลเพื่อตอบปัญญาวิจัยสมมุติฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมมมุติฐานการวิจัย และสมมุติฐานทางสถิติ1. สมมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) แบ่งได้ดังนี้1.1 สมมุติฐานแบบมีทิศทาง1.2 สมมุติฐานแบบไม่มีทิศทาง2. สมมุติฐานทางสถิติ (Directional hypothesis)2.1 สมมุติฐานหลัก2.2 สมมุติฐานรอง2.2.1 สมมุติฐานแบบไม่มีทิศทาง2.2.2 สมมุติฐานแบบมีทิศทางT- test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับตังแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้F- test หรือ ANOVA เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น